หมวดสินค้า
ทั้งหมด (37)
TRX (5)
Twistrun (3)
V-shape stepper (1)
ดัมเบล (5)
ถุงมือออกกำลังกาย (4)
บล็อกโยคะ (1)
บอลโยคะ (4)
บันไดออกกำลังกาย (1)
บาร์โหน (3)
ยางยืดออกกำลังกาย (2)
ล้อออกกำลังกาย (1)
สปริงมือหัก (1)
อุปกรณ์วิดพื้น (2)
เก้าอี้ซิทอัพ (1)
เชือกกระโดด (1)
เสื่อโยคะ (1)
โปรโมชั่น (1)
ตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
สินค้าขายดี
เชือกออกกำลังกาย TRX สีเหลือง.html เชือกออกกำลังกาย TRX สีเหลือง 990 690 บาท
เสื่อโยคะยางสังเคราะห์ NBR หนา 8 มม..html เสื่อโยคะยางสังเคราะห์ NBR หนา 8 มม 250 บาท
ยางยืดออกกำลังกาย.html ยางยืดออกกำลังกาย 590 490 บาท
healthy corner
healthy corner

SCAN QR CODE เพื่อติดต่อเรา

healthy corner Facebook
healthy corner # TAG
วิดพื้น ที่วิดพื้น เสื่อโยคะ ab wheel abs wheels ล้อออกกำลังกาย ยางยืดออกกำลังกาย ยางยืด บอลโยคะ โยคะ speed rope ถุงมือออกกำลังกาย ถุงมือฟิตเนส dumbbell ดัมเบล twistrun บาร์โหน TRX เชือกออกกำลังกาย TRX เชือกกระโดด
บทความ
บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย วิธีดูแล/ป้องกัน

บทความเรื่อง : บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย วิธีดูแล/ป้องกัน


บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย วิธีดูแล/ป้องกัน
 
ด้วยกระแสการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รูปร่างสวยงาม ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้สำหรับประชาชนในปัจจุบันนี้ ข้อมูลจากการรายงานของกรมควบคุมโรคพบว่าช่วงโรคระบาด Covid-19 คนไทยมีการออกกำลังกายในที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกันกับข้อมูลผลการค้นหาใน Google และคลิปวีดีโอใน Youtube ในช่วงเวลาเดียวกัน
 
ขณะที่กระแสการออกกำลังกายที่กำลังมาแรง สิ่งที่มักจะควบคู่ตามกันมากับการออกกำลังกายก็คือ "อาการบาดเจ็บ" โดยปกติแล้วเมื่อไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานานๆแล้วกลับมาออกกำลังกายอีกครั้งอาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการกล้ามเนื้อช้ำเกิดจากกลไกของร่างกายที่ตอบสนองจากการที่กล้ามเนื้อยังไม่มีความคุ้นชินกับการออกกำลังกายที่หนักขึ้น อาการเหล่านี้มักหายได้เองในเวลาเพียงไม่กี่วันจึงไม่ถือว่าเป็นอาการบาดเจ็บ ซึ่งอาการที่จะเรียกว่าบาดเจ็บได้นั้นต้องมีอาการเจ็บปวด บวม บริเวณผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บมีสีแดง และเมื่อสัมผัสจะรู้สึกร้อนกว่าบริเวณรอบข้าง
 
Healthy corner ได้ทำกาารวบรวมข้อมูลการดูแลตัวเองและนำเสนอกลเม็ดเคล็ดลับในการออกกำลังกายให้ปลอดภัยไร้อาการบาดเจ็บมานำเสนอให้แก่ทุกท่าน


 
ก่อนอื่นนั้นขอเล่าถึงอาการบาดเจ็บที่สามารถเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ ทั้งจากการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งและคาร์ดิโอ ดังต่อไปนี้
1.การอักเสบที่เกิดบริเวณกล้ามเนื้อ เกิดจากการฉีกขาดเนื่องมาจากการใช้งานอย่างหนัก
2.การอักเสบที่เกิดบริเวณเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งหมายถึงเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก (Tendon)
3.การฉีกขาดของเส้นเอ็นยึดข้อ ซึ่งเป็นการฉีกขาดของเส้นเอ็นที่ทำการยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก (Ligament)
4.การที่บริเวณกระดูกรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีแรงเครียดบริเวณกระดูกมากจนเกินไป มักเกิดจากการออกกำลังกายหนักหรือกระดูกถูกกดทับซ้ำๆ


 
เมื่อมีการบาดเจ็บเกิดขึ้น หลักการดูแลอาการบาดเจ็บของตัวเองเบื้องต้นคือ PRICER ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
P = Protection ป้องกันส่วนที่บาดเจ็บไม่ให้ถูกกระทบหรือเคลื่อนไหว
R = Rest พักการใช้งาน หลีกเลี่ยงการใช้งานส่วนที่บาดเจ็บ
I = Ice ทำการประคบเย็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำแข็งภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อลดอาการบาดบวม
C = Compression กดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยทำควบคู่กันกับการประคบเย็นด้วยน้ำแข็งหรือแผ่นเย็น
E = Elevation ยกอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าร่างกายปกติเพื่อให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจเพื่อลดอาการบวม
R = Referral พบแพทย์ให้เร็วที่สุดเมื่อพิจารณาแล้วว่าอาการบาดเจ็บหนัก
 
จากคำแนะนำของคุณธิดารัตน์ นักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระหว่างที่ร่างกายได้รับบาดเจ็บไม่ควรออกกำลังกายบริหารส่วนที่บาดเจ็บ เพราะจะทำให้บาดเจ็บซ้ำและหายช้า แต่สามารถออกกำลังกายบริเวณอื่นที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแทนได้


 
วิธีป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
1.อบอุ่นร่างกายทั้งก่อน (Warm up) และหลัง (Cool down) การออกกำลังกายอย่างละประมาณ 5-10 นาที
2.ระหว่างอบอุ่นร่างกายให้ทำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อควบคู่กันไปด้วยประมาณ 3 นาที
3.ทยอยเพิ่มความหนักในการออกกำลังกาย อาทิ แรงต้าน น้ำหนัก ระยะเวลา และความถี่ เพื่อให้ร่างกายของเราค่อยๆทำการปรับตัว
4.ไม่ออกกกำลังกายจุดเดิมแบบเดิมซ้ำๆป้องกันการถูกใช้งานหนักจนเกินไป
5.ไม่ออกกำลังกายหนักๆเป็นเวลานานจนเกินไป
6.ปรึกษาแพทย์ถึงอาการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแม้จะหายบาดเจ็บไปแล้ว
7.ควรมีวันพักในการออกกำลังกายอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสฟื้นตัว
8.ก่อนออกกำลังกายด้วยเทคนิคใหม่ๆควรปรึกษาเทรนเนอร์ นักกายภาพบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ
9.ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับการออกกำลังกายในแต่ละประเภท
10.ดื่มน้ำให้เพียงพอ
11.รับประทานอาหารว่างเบาๆล่วงหน้าอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนที่จะทำการออกกำลังกายเพื่อไม่ให้ท้องว่าง
12.ออกกำลังกายด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง
13.มีเป้าหมายในการออกกำลังกายที่ชัดเจน
14.หมั่นตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่มีอายุเกิน 55 ปี สุภาพบุรุษที่มีอายุเกิน 45 ปี และผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
 
 
ด้วยวิธีดูแลและป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายเหล่านี้จะสามารถช่วยให้การออกกำลังกายสนุก ปลอดภัยห่างไกลจากอาการบาดเจ็บได้แน่นอน
 
>>>อุปกรณ์ออกกำลังกายง่ายๆใช้ได้ที่บ้าน<<<
 
ขอบคุณข้อมูลจาก :
กรมพัฒนาธุรกิจ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
#บาดเจ็บ #อาการบาดเจ็บ #ออกกำลังกาย #การออกกำลังกาย #ฟิตเนส #ดูแล #แก้ไข #รักษา #ป้องกัน #healthycorner #www.ht-corner.com

โดย คุณgodgun เมื่อ วันที่ 7 ก.ค. 2565 16:55 น.